วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552



รายละเอียด
โทร 0897609378

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

จำนำทะเบียนรถ รีไฟแนนซ์ จัดไฟแนนซ์


สินเชื่อรถยนต์มือสอง จำนำทะเบียน/จัดไฟแนนซ์/รีไฟแนนซ์
รหัสสินค้า: 000035 (4car4cash)


รายละเอียด: เพียงท่านมีรถยนต์ ต้องการเงินทุนหมุนเวียนท่านที่ต้องการซื้อต้องการขายติดไฟแนนซ์อยุ่ต้องการจัดใหม่รถเกิน 10 ปี จัดให้ได้ติดแบลคลิส ลองโทรหาเราก่อนจำนำ ดอกเบี้ยเริ่มต้น เพียง 0.77 %ไม่ต้องโอน ไม่ต้องจอดรถเอกสารที่ใช้สำเนาบัตรสำเนาทะเบียนบ้านสลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนสำเนาสมุดธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนสอบถามยอดจัดไฟแนนซ์ โดยระบุ1.ยี่ห้อรถ2.ชื่อรุ่น (ระบุรุ่นย่อย เช่น EXI , J,SLX)3.เกียร์4.ปีจดทะเบียน5.ราคาซื้อขาย,หรือยอดค้างไฟแนนซ์ จำนวนเงินที่ต้องการใช้(กรณีจำนำทะเบียน)ทาง E-Mail aenam.ap@gmail.com
หรือ โทร 089-7609378
รายละเอียดที่
http://pinsure.tarad.com

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552

บริการประกันภัยครบวงจร จัดหาประกันภัย จนท่านพอใจ



ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์

กรณีรถประกันเป็นฝ่ายถูก
1. จดทะเบียนรถ, ชื่อ, ที่อยู่ของคู่กรณีและหมายเลขโทรศัพท์(ถ้ามี)
2. จดชื่อ, ที่อยู่ของพยานในที่เกิดเหตุ (ถ้ามี)
3. เมื่อคู่กรณียอมรับผิดต้องให้คู่กรณีเซ็นหนังสือยอมรับผิดทันที ในขณะอยู่ในที่เกิดเหตุ
4. รีบแจ้งให้บริษัทฯ ทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

กรณีรถประกันเป็นฝ่ายผิด
1. แจ้งบริษัทฯ ให้ไปช่วยดำเนินการเรื่อง ให้ทันที
2. แยกรถออกจากที่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้การจราจรติดขัด หลังจาก ยอมรับผิดแล้ว
3. ไม่ควรเซ็นเอกสารใดๆ ให้กับคู่กรณี จนกว่าจะได้รับคำแนะนำ หรือเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ

กรณีที่ไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
1. อย่าเคลื่อนรถออกจากที่เกิดเหตุนอกจาก พนักงานสอบสวน เป็นผู้สั่ง
2. อย่าให้เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, ใบขับขี่ แก่ คู่กรณี
3. แจ้งสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
4. แจ้งบริษัทฯ เพื่อมาดำเนินการเรื่อง

กรณีถูกชนแล้วหนี
1. ให้แจ้งความ (ร้องทุกข์) ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจท้อง ที่ ที่เกิดเหตุในทันทีเพี่อดำเนินคดี มิใช่แจ้งความไว้เป็นหลัก ฐานเท่านั้น
2. ทะเบียนรถ, ลักษณะ และสีรถของคู่กรณีเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้อง แจ้งค่อเจ้าพนักงานตำรวจท้องที่

กรณีรถถูกยึด
1. โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากรถถูกยึดไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ควรให้เจ้า หน้าที่ตำรวจเจ้าของเรื่อง นายร้องเวรตรวจสอบของมีค่าในรถ หรืออุปกรณ์ประดับรถ และลงบันทึกประจำวันไว้ด้วย
ถ้ารถถูกยึดไม่
สามารถปิดล็อคประตูได้หรือบุคคลภายนอกสามารถเข้าไปในรถได้ ให้ผู้เอาประกันถอดอุปกรณ์ มีค่าออกเก็บรักษาไว้
กรณีรถหาย
1. ให้รีบแจ้งสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ และสถานีตำรวจทาง หลวงที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยมีข้อมูลรายละเอียด คือ ทะเบียนรถ, สี, หมายเลขตัวถัง, ตำหนิ หรือที่สังเกตุได้ง่าย, สถานที่หายและ วัน เวลาที่หาย
2. แจ้งศูนย์ป้องกัน และปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ และรถ จักรยานยนต์ (ศ.ป.ร.)ที่หมายเลขโทรศัพท์ 245-6951

กรณีคู่กรณีบาดเจ็บ
1. ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. ยังไม่เจรจาเรื่องค่าเสียหาย จนกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทฯ จะไปถึง


ข้อควรรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่แบ่งเป็น 2 แบบ
1. กรมธรรม์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่
2. กรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่อายุผู้ขับขี่มาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยและ คุ้มครองผู้ขับขี่รถตามที่ระบุในกรมธรรม์ กรณีบุคคลที่มิได้ระบุชื่อมา ขับขี่ก็ไดรับความคุ้มครองแต่ผู้เอาประกันต้องร่วมรับผิดค่าเสียหายที่ เกิดขึ้นของอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย โดยผู้เอาประกันสามารถระบุชื่อ ผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน 2 คน โดยจะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยตามช่วง อายุของผู้ขับขี่ ดังนี้
ผู้ขับขี่อายุ 18 -24 ปี ลดเบี้ย 5 %ผู้ขับขี่อายุ 25 -35 ปี ลดเบี้ย 10 %ผู้ขับขี่อายุ 36 -50 ปี ลดเบี้ย 20 %ผู้ขับขี่อายุ 50 ปีขึ้นไป ลดเบี้ย 15 %
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง ต้องแจ้งให้บริษัท เพื่อตรวจสอบความ เสียหาย หากเก็บบาดแผลของอุบัติเหตุไว้และแจ้งเคลมทีหลัง
ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่า EXCESS ให้กับบริษัท
ความเสียหายส่วนแรกหมายถึง จำนวนเงินค่าความเสียหายในแต่ละครั้งที่ผู้เอาประกันภัย ตกลงรับผิดชอบเองในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัตเหตุ โดยแบ่งดังนี้
1. ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ (EXCESS)สำหรับของรถที่มีความเชื่อมั่นตนเองและมีความระมัดระวังในการ ขับรถ อาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภท ความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความ เสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อ ทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตาม เงื่อนไขในสัญญา
2. ความเสียหายส่วนแรกกรณีผิดสัญญากรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อแต่บุคคลอื่นขับขี่และเป็นฝ่ายต้อง รับผิดชอบ ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วน แรกเองต่อความเสียหายดังนี้6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก กรณีใช้รถผิดประเภท
กรณีใช้รถผิดประเภทเช่น นำรถส่วนบุคคลไปรับจ้าง ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้2,000 บาท แรก ของความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประกัน 3+ มิตรแท้ประกันภัย ฟีนิกซ์ ประกันภัย


คุณรุ้หรือเปล่าประกัน 3+ 2+ ต้องจ่าย 2000 กรณีที่ซ่อมรถเราเป็นฝ่ายผิด แต่ที่นี่ไม่ต้องจ่าย ครับ

มี บ.มิตรแท้ 7777 ฟีนิกซ์ 6500 ทุนซ่อม 100000 บาทเท่ากัน

สนใจติดต่อ อภิชาติ 0897609378

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

มาเร็ว ซ่อมเร็ว เคลมเร็ว จ่ายเร็ว กับสินมั่นคงประกันภัย






บริษัท สินมั่นคง จำกัด (มหาชน)

เสนอ บริการพิเศษ เมื่อท่านทำประกันกับสินมั่นคง แล้วท่านประสบเหตุ แจ้งเคลม
ทางบริษัท รับประกัน ถ้าพนักงานมาช้ากว่า 30 นาที บริษัท ทำประกันอุบัติเหตุฟรี 100,000 บาท
และถ้าอู่ในเครือซ่อม ช้ากว่าที่บริษัทกำหนด มีการจ่ายเงินชดเชยให้เป็นรายวัน
พร้อมรับส่วนลด ในการทำประกันภัย ประเภท 1
ลูกค้ารายใหม่ ลด 10 %
โอนย้ายประวัติดี ลด 25 %
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลด 25 %
ส่วนลดหมู่ 3 คันขึ้นไป 10 %
เลือกผ่อนชำระ 0 % 3 งวด (ไม่ต้องมีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้)
หรือจ่ายชำระผ่านบัตรเครดิตหรือเงินสดงวดเดียว รับฟรี กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครอง 100,000 บาททันที ให้ท่านเลือกทำให้ใครก็ได้ที่ท่านรัก หรือตัวท่านเอง และฟรี พรบ.
สั่งซื้อประกันภัย สอบถามเบี้ย โทร 0819257025,0897609378 หรือ คลิกที่นี่
เมื่อท่านตกลงทำประกันภัยกับเรา ให้ท่าน FAX สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์คันที่เอาประกัน หรือกรมธรรม์เดิม ปีที่แล้ว
มาที่ เบอร์ Fax 02-5388590
หมายเหตุ -หากท่านต้องการราคาเบี้ยที่ประหยัดที่สุด ให้ท่านหาราคาเบี้ยจากที่อื่นมาพร้อมหลักฐานเช่น ใบเสนอราคา เพื่อทางเราจะได้นำราคานั้นมาพิจารณา เพื่อให้ท่านได้ราคาที่ประหยัดสุด โดยท่านต้อง FAX ใบเสนอราคาของที่อื่นพร้อมกรมธรรม์เดิมปีที่แล้วมาให้เรา เพื่อประกอบการพิจารณา
-การแจ้งสอบถามเบี้ยประกันโดยไม่มีเอกสารจะทำให้ท่านได้ราคาเบี้ยที่สูงกว่ามีเอกสารอ้างอิง







วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

P insure รับทำประกันภัยทุกชนิด มีหลายบริษัทให้ท่านเลือก

สั่งซื้อประกันภัย คลิกที่นี่










ถูก ลดได้ ผ่อนได้ มีให้ท่านเลือกมากกว่า 30 บริษัท ชั้นนำ ติดต่อสอบถามเบี้ย 0819257025


ผ่อน 3 งวด ดอกเบี้ย 0% ทำประเภท 1 แถม พรบ.ฟรี



กรอกข้อมูลรถยนต์ของท่านเพื่อสอบถามประกันภัย คลิกที่นี่
ดูตารางเปรียบเทียบ เบี้ยและทุน ประกันภัยประเภท 3+ คลิกที่นี่


การประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยที่ใครอยากทำก็ทำ ไม่มีการบังคับกัน การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัยที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง ในการขับขี่และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ กรมการประกันภัยจึงได้ปรับปรุงโครงสร้าง การประกันภัยรถยนต์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระบบสากลโดยนำเอา ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ กลุ่ม ขนาด และอายุรถ ฯลฯ มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย
ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ การประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองให้เลือก 3 ประเภทคือ



ประเภท 1 (ชั้น 1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ




ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย




ประเภท 2 (ชั้น 2) ผู้ทำประกันภัยประเภทนี้จะได้รับความคุ้มครอง




ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย




ประเภท 3 (ชั้น 3) ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกดังนี้




ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
( ที่มา หนังสือ ว่าด้วยเรื่องประกันภัยรถยนต์แบบใหม่ กรมการประกันภัย )




สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้

หลายครั้งที่ข้อโตแย้งระหว่างบริษัทประกันภัย และผู้เอาประกันภัยมีสาเหตุมาจากการที่ผู้เอาประกันภัยไม่เข้าใจในหลักกฎหมาย เงื่อนไข และข้อยกเว้นของการทำประกันภัย
ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้ หากผู้เอาประกันภัยได้อ่านและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ ขอบเขตความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นต่างๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
ดังนั้นจึงใคร่ขอหยิบยกเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย เงื่อนไข และข้อยกเว้น ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่คิดว่าสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย ซึ่งกองส่งเสริมการประกันภัยและสารสนเทศ กรมการประกันภัย ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ
การหยุดใช้รถ ผู้เอาประกันภัยอาจแจ้งการหยุดใช้รถยนต์เพื่อขอรับเบี้ยประกันภัยคืนจากบริษัทผู้รับประกันสามารถทำได้ คือ ต้องแจ้งล่วงหน้าเพื่อขอหยุดการใช้รถยนต์ ซึ่งบริษัทประกันภัยจะทำการคืนเบี้ยประกันภัยโดยคิดเฉลี่ยให้เป็นรายวัน แต่ก็มีข้อยกเว้นการคืนเงินเบี้ยประกันในกรณีที่หยุดใช้รถยนต์ในระหว่างการซ่อมรถ และหยุดการใช้งานที่น้อยกว่า 30 วัน
การโอนรถ เมื่อผู้เอาประกันภัยรถยนต์ โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ และบริษัทผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกรมธรรมธ์ประกันภัยต่อไปตลอดอายุกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่
ส่วนในกรณีที่เป็นการทำประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ให้บริษัทประกันภัยทราบ เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัย ตามสภาพความเสี่ยงภัยที่เปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นผู้เอาประกันภัยอาจจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรก ตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ปรากฏในกรมธรรม์
รถยนต์เช่าซื้อ การประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ ให้บริษัทผู้รับประกันภัยจัดทำกรมธรรม์ให้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันภัยจัดทำกรมธรรม์ให้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันภัยแต่ผู้เดียวเท่านั้น การยกผลประโยชน์ตามส่วนได้เสียให้ผู้เช่าซื้อ ให้บริษัทใช้เอกสารแนบท้าย
การลด- เพิ่มเบี้ยประวัติ กรณีประวัติดี มีส่วนลดเบี้ยประกันภัยไว้ 4 ขั้น ขั้นละปีตามลำดับ คือ 20% -50% หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในปีใดปีหนึ่งยังคงมีส่วนลดเบี้ยประวัติในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท ก็จะได้ส่วนลดเพิ่ม และในกรณีที่เป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งคู่กรณีได้ ส่วนละจะน้อยลงไปเท่ากับปีที่ผ่านมา เช่นในปีนี้ควรจะได้รับส่วนลด 30%
แต่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท ส่วนลดที่ได้รับจะเหลือเพียง 20% แต่ถ้าเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งคู่กรณีได้และมีการเรียกร้องค่าสินไหมตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และมีจำนวนเงินเกินกว่า 200% ของเบี้ยประกันภัยส่วนลดจะน้อยลงไปเท่ากับ 2 ปีที่ผ่านมา เช่นปีนี้ควรจะได้รับส่วนลด 30% แต่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท และมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 60,000 บาท ขณะที่เบี้ยประกันภัย มีอัตรา 15,000 บาท ส่วนลดที่ได้รับก็จะไม่เหลือเลยต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ และถ้าเป็นกรณีที่ประวัติไม่ดี มีส่วนเพิ่มเบี้ยประกันภัย 4 ขั้น ขั้นละปี ตามลำดับคือ 20%, 30%, 40% และ 50% เช่นกัน
การบอกเลิกกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัยสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ ดังนี้
1. กรณีบริษัทบอกเลิก ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัยตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้งให้บริษัททราบ และบริษัทคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน
2. กรณีผู้เอาประกันภัยบอกเลิก ให้แจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามอัตราการคืนเบี้ยประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และ 3. กรณีเป็นการประกันภัยกลุ่มและมีการลดจำนวนรถยนต์ ให้คืนเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยรายวัน
การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในกรณีมีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใดๆ ระหว่างผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยกับบริษัทประกันภัย หากผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยต้องการให้ยุติข้อพิพาทนั้นโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ ตามข้อบังคับของกรมการประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
การจัดการเรียกร้องเมื่อเกิดความเสียหาย หมายความว่า เมื่อเกิดความเสียหายหรือความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ต้องแจ้งให้บริษัทผู้รับประกันภัยทราบโดยเร็ว และดำเนินการอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมาย บริษัทมีสิทธิเข้าดำเนินการในนามของผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ภายใต้ความคุ้มครองในกรมธรรม์ ความคุ้มครองของบริษัทจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ดำเนินการโดยสุจริต
การแก้ไขสัญญา - สัญญาคุ้มครองและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้ จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยเอกสารแนบท้ายของบริษัทผู้รับประกันภัยเท่านั้น
การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ มีผลเกิดขึ้นในกรณีต่อไปนี้
1. ณ วันเวลาที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ 2. เมื่อผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่กรมธรรมเริ่มมีผลบังคับให้ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่ประสงค์จะเอาประกันภัยอีกต่อไป และ 3. มีการบอกเลิกกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยหรือบริษัทเป็นฝ่ายบอกเลิกก็ได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา จะต้องอ่านสัญญาประกันภัย และที่สำคัญต้องไม่ประมาท ปฏิบัติตามกฎหมาย และต้องมีสติตลอดเวลา อุบัติเหตุทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
บทความจาก นิตยสาร Thailand Insuranceรู้รอบประกันภัย


ที่มา:http://www.msnth.com/msn/money/insuranceessence/article9.asp